น้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร สู่พลังงานทดแทนในรูปพลังงานไฟฟ้าที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

IMG_3526

ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ โดยมีการนำเข้าพลังงานทั้ง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและไฟฟ้า มากกว่าร้อยละ 55 ซึ่งพลังงานจากธรรมชาติเหล่านั้นนับวันจะมีปริมาณลดลง รัฐบาลได้กำหนดให้พลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ ตามแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 15 ปี (พ.ศ. 2551 – 2565) โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในประเทศในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศ และกระจายแหล่งเชื้อเพลิงเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมไปถึงการเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนด้วย การจัดหาแหล่งพลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่ต้องเร่งดำเนินการและมีความสอดคล้องกับที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายไว้ ปัญหาเรื่องปริมาณการใช้น้ำของประเทศทั้งจากภาคอุตสาหกรรมภาคการเกษตร และครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียและวิธีจัดการน้ำเสียยังเป็นปัญหาสำคัญและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้จะได้มีการออกนโยบายและมาตรการการจัดระบบน้ำเสียแล้วก็ตาม

 

เมื่อนำเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของประเทศผนวกเข้ากับแนวทางในการจัดการน้ำเสีย จึงก่อให้เกิดการพัฒนาก๊าซสังคราะห์จากน้ำเสียเพื่อผลิตไฟฟ้าประเภทพลังงานทดแทน เพื่อเป็นทางออกที่ช่วยลดผลกระทบด้านมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่ทดแทนที่สะอาดและไม่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาให้เกิดแหล่งพลังงานรูปแบบใหม่เพื่อใช้ในประเทศ และยังสามารถช่วยแก้ปัญหาการจัดการน้ำเสียและลดปัญหามลพิษทางน้ำในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ดร.สุประวีณ์ วิรัชภรณ์รวี ประธาน บริษัท สุประวีณ์เอนเนอร์จี้ 19 จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนาเทคโนโลยี พลาสม่า ก๊าซซิฟิเคชั่น (Plasma Gasification)      ซึ่งสามารถนำน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรมาใช้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าและช่วยแก้ปัญหาและบริหารจัดการน้ำเสียให้แก่ชุมชม  โครงการดังกล่าวนี้หากได้รับอนุมัติ จะเริ่มดำเนินการที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นที่แรกและจะขยายผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่มีศักยภาพต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ คือ 1) ภาครัฐได้รับซื้อไฟในราคาประหยัด 2) ช่วยลดปริมาณน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และมลพิษในชุมชน และ 3) ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างสั้นและสามารถเชื่อมต่อระบบในการจำหน่ายไฟได้เร็วเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานไฟฟ้าประเภทอื่นๆ

 

ดร.สุประวีณ์ วิรัชภรณ์รวี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ยื่นเสนอขอดำเนินโครงการพัฒนาก๊าซสังเคราะห์ที่ผลิตได้จากน้ำเสียอุตสาหกรรมเพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยกำลังการผลิต 8 เมกกะวัตต์ต่อชั่วโมง และเสนอขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการฯ ให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)  ซึ่งขณะนี้โครงการฯ ได้ผ่านการพิจารณาแล้วว่าเป็นไปตามระเบียบในการรับซื้อไฟฯ และไม่เกินกรอบเป้าหมายการส่งเสริมไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (AEDP) และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณารับซื้อไฟฟ้าที่คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกำหนดไว้ โดยจากขอบเขตดังกล่าวการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถพิจารณาตอบรับซื้อได้เอง อีกทั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าของแผน (AEDP) 2015 กำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพไว้ที่ 600 เมกกะวัตต์ ในปี 2579 ในปัจจุบันสภาพการผลิตไฟฟ้าทำได้เพียง 300 – 400 เมกกะวัตต์ ยังต้องทำเพิ่มอีกจำนวนมาก ซึ่งการเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการฯ ไม่เกินกรอบเป้าหมายของแผน AEDP

 

บริษัทฯ มีความมั่นใจอย่างมากว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีศักยภาพและจะช่วยสร้างโอกาสให้กับประเทศในการที่จะมีแหล่งผลิตพลังงานทดแทนทางเลือกใหม่ที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในราคาประหยัด ขณะนี้บริษัทฯ มีความพร้อมในการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าทั้งด้านความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี และที่ดิน ซึ่งสามารถทำการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าได้ทันทีที่ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) ดำเนินการตอบรับซื้อไฟฟ้าและทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท สุประวีณ์ เอ็นเนอร์จี้ 19 จำกัด

 

ท้ายที่สุดทางบริษัท สุประวีณ์เอนเนอร์จี้ 19 จำกัด ยังมีเป้าหมายที่จะก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าประเภท Waste to Energy อย่างเต็มตัวและพร้อมร่วมบริหารจัดการกากของเสียให้แก่อุตสาหกรรมทุกประเภท อีกทั้งบริษัทฯ มีแผนการเปิดโรงไฟฟ้าประเภท SPP ขนาด 90 เมกกะวัตต์ จำนวน 2 โรง ภายในปี 2561 รวมกำลังผลิตของบริษัทฯ ทั้งสิ้น 188 เมกกะวัตต์

 

 

 

ดร.สุประวีณ์ วิรัชภรณ์รวี

ประธานกรรมการ

บริษัท สุประวีณ์ เอนเนอร์จี้ 19 จำกัด

Mobile: 082-964–4191

Email: supraween@energy19.com