งานแถลงข่าว สัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2559 หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ไทย ก้าวไกลไปกับ CLMV”

sderyu (5)

สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์จัดแถลงข่าวงานจัดสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปื2559 ในหัวข้อ“ยุทธศาสตร์ไทย ก้าวไกลไปกับ CLMV”นำทีมโดย ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนาคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง ปี 2552ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง ปี 2553 ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และคุณวิน พรหมแพทย์ นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง ปี 2557ตำแหน่งปัจจุบัน ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด มาร่วมกันตอบคำถามว่า ทำไมต้อง CLMV?และอะไรคือความแตกต่างจากหัวข้อสัมมนาAECที่มีมาก่อนหน้านี้?

นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง4 ท่านนำเสนอมุมมองความสัมพันธ์ของไทยกับ CLMVในเรื่องยุทธศาสตร์ระหว่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งของไทยที่อยู่ตรงกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ประชาชนมีความผูกพันกันในเรื่องการค้า ศิลปะ วัฒนธรรม และการเดินทางที่ไปมาหาสู่ระหว่างกันมายาวนานกลุ่ม CLMV สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงต่อเนื่องGDP เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6%-7% ทุกปี และมีประชากรรวมมากกว่า 160 ล้านคนมีกำลังซื้อจากรายได้ที่สูงขึ้น จึงมีความต้องการสินค้า และบริการจำนวนมาก ในขณะที่ประเทศไทยประสบปัญหาการส่งออกชลอตัวและติดลบจากการที่เศรษฐกิจโลกถดถอย แต่การค้ากับกลุ่มประเทศCLMV กลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 10%ทุกปีซึ่งมากกว่าส่งออกไปกลุ่มยูโร และเกือบเท่ากับส่งออกไปญี่ปุ่น ดังนั้น CLMV จึงเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่นักธุรกิจไม่ควรมองข้าม

ในมุมการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ดร.เอกนิติ มองว่า CLMV จะมีบทบาทกับไทยมากที่สุดภายหลังการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่จะเปิดเป็นตลาดใหญ่บนฐานการผลิตเดียวกัน (Single market and single production base)เพราะ AEC ทั้ง10 ประเทศจะมีCLMV เป็น 4 ประเทศใหม่ที่จะเข้าร่วมกลุ่มในสิ้นปี2558 ดังนั้นไทยจะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือทางการค้ากับ CLMV มากที่สุด เพราะทั้ง 4 ประเทศนี้จะลดกำแพงภาษีเหลือ 0% ในขณะที่ประเทศอื่นๆใน AEC ได้ลดกำแพงภาษีไปเมื่อ 5 ปีก่อนหน้านี้แล้ว ประเทศไทยมีเทคโนโลยีและการจัดการด้านการผลิตที่ก้าวหน้ากว่าประเทศ CLMV แต่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน วัตถุดิบ มีต้นทุนการผลิตที่สูง ขณะที่ CLMV มีแรงงาน ทรัพยากร แหล่งพลังงาน และต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยแต่ขาดเทคโนโลยี ประเทศเพื่อนบ้านมีสิ่งที่เราไม่มีและเราเองก็มีในสิ่งที่เขาไม่มี ดังนั้นไทยและ CLMV สามารถเป็นหุ้นส่วนที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน ทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมภาคบริการ การเงิน ประกันการเข้าร่วมกลุ่ม AEC ของ CLMV จะช่วยลดข้อกีดกันทางการค้าที่เคยมี ช่วยเพิ่มโอกาสไทยในการส่งออกสินค้าและบริการได้หลากหลายมากขึ้น ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงภูมิภาค สร้างโอกาสการลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุน เคลื่อนย้ายแหล่งผลิดเทคโนโลยี และแรงงานฝีมือระหว่างกันได้อย่างอิสระมากขึ้นไปอีกที่ผ่านมาประเทศไทยถูกตัดลดสิทธิพิเศษทางการค้า GSP ลงไปเรื่อยๆ แต่กลุ่ม CLMV ยังได้รับสิทธิGSP และเวียตนามยังได้ร่วมทำข้อตกลงTPP ซึ่งไทยสามารถใช้โอกาส CLMV เป็น spring board ในการส่งสินค้าไปประเทศอื่น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการพัฒนาไปพร้อมกันกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันจึงมีความสำคัญ?

ภาคบริการเป็นไฮไลท์หนึ่งของงานสัมมนาครั้งนี้ ดร.กิริฎา เภาพิจิตร มองความสำคัญภาคบริการที่มีคุณภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ภาคการผลิตโดยแยกเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนและการผลิต อาทิโลจิสติกส์ซึ่งไม่หมายถึงการขนส่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการจัดซื้อจัดหา การผลิต การจัดเก็บ สินค้าคงคลัง การกระจายสินค้าและบริการจากแหล่งผลิตสู่มือผู้บริโภคการก่าจัดของเสียและเทคโนโลยีสารสนเทศหรือบริการที่ไปตอบสนองควาต้องการของประชาชน อาทิการสาธารณสุข โรงพยาบาล การศึกษา โรงเรียน การท่องเที่ยว บริการเรื่องโทรคมนาคม และการบัญชีหลายๆธุรกิจในภาคบริการที่สามารถเชื่อมโยงกับ CLMV ได้จะมีโอกาสในการขยายตัวเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

ผู้ฟังจะได้ทราบถึงโอกาสและความเสี่ยงจากการค้าการลงทุนใน CLMV  และได้เชิญวิทยากรมาเสวนาในเรื่องที่สำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์  ด้านการโรงแรม ด้านธุรกิจเทรดดิ้ง และผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ

เรื่องใหม่ที่ยังไม่มีใครพูดเจาะลึกถึงคือ โอกาสภาคการเงิน กลไกขับเคลื่อน CLMV โดยคุณวิน พรหมแพทย์ พูดถึงการเปิดเสรีภาคการเงินของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก และเป็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากตลาดเงินและตลาดทุนที่เปิดกว้างมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ตลาดเงินตลาดทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ธุรกิจในภาคการผลิตและบริการสามารถประสบผลสำเร็จในประเทศ CLMV ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านการเงินและตลาดทุนมาก่อน CLMV ทั้งด้านตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร ที่กว้างและลึกกว่าตลาดเงินตลาดทุนของประเทศในกลุ่มCLMV ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาดทุนใน CLMVตลาดหุ้นไทยสามารถทำ Market Exchange ซื้อขายหุ้นข้ามไปมาได้กับตลาดหุ้นมาเลเซียและสิงคโปร์ ดังนั้นจึงมีโอกาสดีที่ไทยสามารถเป็นฮ้บศูนย์กลางของการลงทุนในภูมิภาคได้ต่างชาติและ CLMV เองก็มองว่าไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค เมื่อประเทศลาวจะออกพันธบัตรก็จะมาใช้ไทยเพราะตลาดใหญ่กว่าและมีนักลงทุนต่างชาติสนใจมากกว่า ตลาดหุ้นในลาวและกัมพูชามีบริษัทจดทะเบียนรวมกันไม่ถึง 10บริษัท ส่วนประเทศไทยมีหุ้นรวมกันมากกว่า 500 บริษัท  ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ CLMV จะมาใช้ไทยเป็นฐานในการออกหุ้นซึ่งอาจเป็นการจดทะเบียนคู่ที่มีหุ้นทั้งในตลาดตนเองและในตลาดไทย รวมถึงการออกพันธบัตรเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินต่างประเทศก็สามารถกระทำได้ด้านธุรกิจประกัน  กลุ่ม CLMV มีอำนาจการซื้อและรายได้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นตลาดใหม่ของการให้บริการทางการเงินและการประกันภัย โอกาสที่บุคคลจะซื้อความคุ้มครองทางการเงินให้กับตนเองและครอบครัวมีมากขึ้นCLMV ยังต้องการเวลาในการพัฒนากฎระเบียบในตลาดทุนและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และตลาดเงิน ที่ผ่านมาไทยได้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเพื่อนบ้าน อนาคตไทยจะมีบทบาทในการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนให้ประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น สร้างเครือข่ายของการซื้อขายลงทุนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างไทยกับ CLMV เพื่อให้ทั้งหมดเติบโตไปด้วยกัน

นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า สมาคมฯได้จัดงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องมาปีนี้เป็นปีที่ 23 โดยงานสัมมนาฯจะเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความเห็นจากภาคเอกชนและระดับผู้บริหารประเทศที่มีส่วนในการขับเคลื่อนนโยบายด้านต่างๆ ในการสร้างความร่วมมือกับ CLMV ให้เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ช่วยกันเติมเต็มและก้าวไกลไปพร้อมกันพบกับคำตอบเชิงกลยุทธเพื่อนำพาประเทศไทยก้าวเดินไปพร้อมกันกับ CLMV ได้อย่างยั่งยืนในสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี2559 ที่ะจัดขึ้นในวันพฤหัสที่ 12 พฤศจิกายนศกนี้ เวลา 8:00-16:00 น. จึงขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการและทุกท่านที่สนใจร่วมเข้าฟังสัมมนาในครั้งนี้

 

สำหรับเนื้อหาของการสัมมนาครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้ทราบวิสัยทัศน์“ยุทธศาสตร์ธุรกิจไทย ก้าวไกลไปกับCLMV” จาก คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและคุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทยต่อด้วยเสวนาในหัวข้อแรก “เกษตร อุตสาหกรรม CLMV หุ้นส่วนที่เติมเต็ม” โดยเชิญวิทยากรจากผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิปดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ จากภาคธุรกิจ คุณกฤษฎา นเทียรวิเชียนฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด Mr.Stanley Kang, Chairman, Joint Foreign Chamber of Commerce in Thailand และภาควิชาการ ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หัวข้อที่สอง “CLMV เส้นทางสายใหม่ภาคบริการ” วิทยากรผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ คุณสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์  รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สากลธุรกิจเลิศรวมมิตร จำกัด คุณสุคนธ์ ชาญปรีดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท HMD Asia Co.Ltd.  ช่วงบ่ายพบกับเสวนา“ภาคการเงิน: กลไกขับเคลื่อนโอกาส CLMV” โดยเชิญวิทยากร คุณเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณฤชุกร สิริธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) คุณประเวช องอาจสิทธิกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยช่วงสุดท้ายจะเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นกับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในประเด็นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยก้าวไกลไปกับ CLMV นอกจากนี้ยังมีคณาจารย์และศิษย์เก่าดีเด่นของคณะเศรษฐศาสตร์เป็นผู้ดำเนินรายการอาทินายวารินทร์สัจเดวผู้ดำเนินรายการข่าวTNN 24, FM101, MCOT และRadio Thailand ฯลฯ

การสัมมนาจะจัดขึ้นในวันพฤหัสที่ 12 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องคริสตัลบอลรูม โรงแรมพลาซา แอทธินี ถนนวิทยุ ติดต่อซื้อบัตรได้ที่สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ โทร. 02-613-2439, 02-226-4397,      081-700-1187 หรือติดต่อผ่านemail: alumni@econ.tu.ac.th      โดยจำหน่ายบัตรเข้าฟังสัมมนาในราคา ใบละ 3,000 บาท

sderyu (1) sderyu (2) sderyu (3) sderyu (4)