“คิดก้าวหน้า” กระตุ้นไอเดียสร้างสรรค์ เตรียมพร้อมเยาวชนไทยก้าวสู่ตลาดแรงงาน

a181971

“เด็กรุ่นใหม่” มีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้า ความพร้อมที่จะได้แสดงความรู้ความสามารถ ผลงานตามความคิด ความต้องการของตนเอง เพียงแต่ต้องยอมรับบางครั้งหลายคนก็ไม่แน่ชัดในหนทางของตนเองว่าสิ่งที่รู้ ที่เรียนมานั้น เหมาะสมนำไปประกอบอาชีพสร้างอนาคตของตนเองได้หรือไม่ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(OKMD )ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) อุทยานการเรียนรู้ (TK Park ) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (Museum Siam)  จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการคิดก้าวหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมเยาวชนไทยสู่ตลาดแรงงานสร้างสรรค์ขึ้น ระหว่างวันที่  3 ก.พ. ที่สโมสรทหารบก และวันที่ 4 ก.พ.ที่หน่วยงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ภายในงานมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้นำกิจกรรมความคิดก้าวหน้า พร้อมบุคลากรผู้มากประสบการณ์ในภาคเอกชนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 9 สาขา ได้แก่ งานฝีมือและหัตถกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดงและทัศนศิลป์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์  วีดิทัศน์ วิทยุและการถ่ายภาพ  พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่และห้องสมุด  การพิมพ์ ซอฟต์แวร์ การโฆษณา การออกแบบและสถาปัตยกรรม

โดยมีการจัดแบ่งเป็นกิจกรรมต่างๆ อาทิ  CREATIVE TALK  การบรรยายเพื่อสร้างองค์ความรู้และแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การต่อยอด CREATIVE  EXHIBITION นิทรรศการแสดงเส้นทางสายอาชีพสร้างสรรค์ CREATIVE SHOWCASE การจัดแสดงผลงานของหน่วยงานต่าง CREATIVE WORKSHOP การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเรียนรู้กระบวนการคิดและการทำงานเพื่อฝึกทักษะก่อนทำงาน CREATIVE ACTIVITY กิจกรรมและเกมที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ CREATIVE FILM ภาพยนตร์สารคดีที่เจาะลึกเบื้องหลังชีวิตและการทำงานของบุคคลในภาคอุตสาหกรรม CREATIVE JOB CLINIC การให้คำปรึกษาและแนะแนวทางการประกอบอาชีพ CREATIVE JOB MAKET ตลาดนัดอาชีพและCREATIVE TOUR การเยี่ยมชมองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งทุกกิจกรรมล้วนเปิดโอกาสและกระตุ้นการเรียนรู้กระบวนการทำงานจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง และในสถานที่จริง

พล.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยก้าวสู่ 10อุตสาหกรรมใหม่แน่นอน ดังนั้น กิจกรรมดังกล่าวที่นำเสนอทั้งในเรื่องของงาน การคิดสร้างสรรค์ คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ วิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ ศิลปวัฒนธรรม การทำสื่อสิ่งพิมพ์ การบริการ การท่องเที่ยว การรักษาประเพณีวัฒนธรรม  โดยผ่านการให้มีวิทยากรที่มีความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะสาขาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ การออกแบบ เพื่อให้น้องๆ นักเรียนนักศึกษา ประมาณ 3,500 คนที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ รับฟังประสบการณ์ที่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพวกเขาก่อนเข้าสู่อาชีพนั้นๆ อย่างไรก็ตาม  เชื่อว่ากิจกรรมที่จัดขึ้น จะสามารถเพิ่มเติมไอเดียใหม่ๆที่จะทำให้เด็กๆ เยาวชนได้ค้นหาตัวเองว่าชอบ หรือไม่ชอบสิ่งใด ได้เรียนรู้ และศึกษาเรื่องต่างๆ ก่อนที่จะเลือกในอุตสาหกรรมที่ตัวเองชอบ เพื่อพวกเขาจะได้สร้างงาน สร้างอาชีพ เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมต่อไป

ขณะที่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร สบร. กล่าวว่า สบร.หรือ OKMD เป็นหนวยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีภารกิจในการสนับสนุน บ่มเพาะและเตรียมความพร้อมเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถรู้เท่าทันและแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพ ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้น ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเยาวชนที่จะได้เข้ามาสัมผัสอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ได้เห็นประสบการณ์จากผู้ที่ทำงานจริง  เพราะในอนาคตการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบต่างๆ จะช่วยให้เยาวชนได้สร้างงาน อาชีพใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับตัวเอง

“สบร.ให้ความสำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ คิดก้าวหน้าให้แก่เยาวชน เพราะโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ซึ่งถ้าเยาวชนเลือกเดินได้ถูกช่องทาง และเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว กิจกรรมนี้จะเป็นการสร้างแรงบันดาลให้เยาวชนได้เลือกทางเดินด้วยตัวเอง ตามความชอบ ความถนัด ทำให้เขาก้าวเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้เร็วขึ้น  ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจึงขึ้นเป็นปีแรก ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการขยายไปสู่ภูมิภ

ด้าน นายราเมศ พรหมเย็น ปฎิบัติหน้าที่ผอ.สบร. กล่าวเสริมว่ากิจกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับจากนักศึกษาทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล ที่ได้เข้ามาเรียนรู้งานสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์นั้นดำเนินการอย่างไรบ้าง รวมถึงเยี่ยมชมแหล่ง และแนะแนวทางในการเข้าทำงาน  และอนาคตจะขยายไปสู่การจัดในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมเด็กไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั่วประเทศ

สิ่งที่เด็กไทยยังขาดทักษะ  นอกจากเรื่องการกลั่นกรองข้อมูลแล้ว พวกเขายังขาดประสบการณ์โลกของการทำงานจริงๆ ดร.บุญชู บุญลิขิตศิลป์ อาจารย์สอนสาขานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.บูรพา กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่มาก โดยเฉพาะสำหรับเด็กในต่างจังหวัด เพราะต้องยอมรับว่าโอกาสที่พวกเขาจะได้มาพบเจอผู้ประกอบการ คนทำงานในสายอาชีพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ถ้าไม่ได้เข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการนั้นๆพบเจอแลกเปลี่ยนได้น้อยมาก งานนี้ จึงเป็นเสมือนการเปิดประตู ให้เยาวชนได้เปิดโอกาสให้ได้เห็นรูปแบบการทำงาน รับฟังประสบการณ์การทำงานจากวิทยากรที่ดำเนินการอุตสาหกรรม ธุรกิจสร้างสรรค์แล้วประสบความสำเร็จ เปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ และที่สำคัญยังทำให้เด็กได้ค้นหาตัวเองเจอ ว่าอาชีพไหนที่เหมาะสมกับพวกเขา แ

“เด็กไทยมีความคิด ความกล้าไม่แพ้ชาติใด เพียงแต่ที่ผ่านมาพวกเขาอาจไม่มีพื้นที่ปล่อยของ  เพราะยังขาดประสบการณ์และไม่รู้ว่าจะนำสิ่งที่ตนเองมีมาพรีเซนต์ นำเสนออย่างไร กิจกรรมที่สบร.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆจัดขึ้น ผมได้ชวนเด็กๆ ที่เป็นผู้นำนักศึกษา ประมาณ 28 คนมาเข้าร่วม เพื่อจะได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อกับเพื่อนๆ คนอื่น เพราะหลังจบโครงการทุกคนต้องเขียนสรุปว่าได้ประโยชน์อะไรบ้าง ส่วนตัวผมเป็นอาจารย์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้เห็นการทำงานของผู้ประกอบการ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพราะบางครั้งตำราเรียนเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องได้มาเรียนรู้ตำรานอกห้องเรียนด้วย อยากให้ทางสบร.จัดกิจกรรมแบบนี้และขยายไปต่างจังหวัด เปิดโอกาสให้เด็กในภูมิภาคได้สัมผัส เรียนรู้ เพิ่มเติมประสบการณ์ และเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์”

ทุกคนมีศักยภาพเต็มเปี่ยม แต่เมื่อนำไปใช้ก็ไม่รู้จะหยิบอย่างไรเพื่อนำเสนอให้ตรงใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ฝ้าย น.ส.ศศิชา พฤกษ์วิมลพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขานิเทศศิลป์ ม.บูรพา กล่าวว่ารู้สึกดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพราะทุกกิจกรรม ทุกอุตสาหกรรมจะทำให้รู้ว่าอุตสาหกรรมใดที่เหมาะสมกับที่สิ่งที่เรียนมา และถ้าเราชอบด้านไหนควรไปทำอาชีพอะไร รวมถึงทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ เรื่องราวใหม่ๆที่บางครั้งในตำราเรียน ห้องเรียนอาจไม่มี ได้ไอเดีย แนวทางในการทำงานมากขึ้น

“เด็กรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่พวกเราไม่รู้ว่าจะนำมาใช้อย่างไร เมื่อได้เห็นการทำงาน แลกเปลี่ยน รับคำแนะนำจากทั้งวิทยากรและกิจกรรมต่างๆ เชื่อว่าเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ช่องทางสร้างสรรค์ นำเสนองานของตัวเอง เห็นโอกาสในการพัฒนาตนเองมากขึ้น”

เช่นเดียวกับ เบสท์ นายนนท์ แก้วมรกต นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่าโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ดี และเหมาะกับคนทำงานด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ หรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียต่างๆ ถ้ามีและรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองเร็วเท่าใด ก็จะนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ แต่บางครั้งคนรุ่นใหม่ก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเรียนมาจะเริ่มนำไปให้เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่าอย่างไรบ้าง คำแนะนำจากวิทยากร ภาคอุตสาหกรรมจะช่วยให้ค้นพบศักยภาพของตัวเอง  สร้างเครือข่าย และเตรียมพร้อมการทำงาน อยากให้จัดกิจกรรมทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็น ได้นำเสนอพื้นที่ของตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

ความรู้ แหล่งข้อมูลมีมากมายให้เลือกสรรในโลกอินเตอร์เน็ต แต่ประสบการณ์ชีวิต การทำงานที่ผ่านการเรียนรู้จากโลกจริงคงไม่ได้มีให้ได้เรียนรู้ สัมผัส โครงการคิดก้าวหน้า เป็นอกหนึ่งการเรียนรู้ ที่จะทำให้เยาวชนได้รับคำแนะนำ สัมผัสประสบการณ์จริงจากนักคิด หน่วยงานในอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ