ทีเอ็นทีจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ประกาศความพร้อม ส่งเสริมธุรกิจไทยต้อนรับเออีซี ในงาน “Asia Road Network Innovative AEC Integrated 2015”

TNT_1

ชลบุรี- ทีเอ็นทีผู้นำด้านบริการขนส่งพัสดุภัณฑ์ด่วนครบวงจรทั้งในและต่างประเทศ เดินหน้าจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ “Asia Road Network Innovative AEC Integrated 2015”เพื่อนำเสนอข่าวสารล่าสุดของบริษัทให้แก่บรรดานักธุรกิจได้รับทราบส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจของผู้ประกอบการหลากหลายประเภทตลอดจนแถลงถึงกลยุทธ์เตรียมความพร้อมเพื่อให้กลุ่มลูกค้าของทีเอ็นทีได้รับประโยชน์สูงสุดจากการที่ประเทศไทยจะได้เป็นหนึ่งในภาคีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยกิจกรรมครั้งนี้มีลูกค้าจากบริษัทชั้นนำเข้าร่วมงานกว่า 200 ราย ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์พัทยาจ.ชลบุรี

 

ภายในงาน จอร์จีนา กัลวิน กรรมการผู้จัดการ และจรัสพรรณ แจ่มใสผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ทีเอ็นทีประเทศไทยได้ร่วมนำเสนอกลยุทธ์ใหม่ Customer-Centricity ที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญต่อลูกค้าเป็นหลัก พร้อมยกระดับความสำคัญของเครือข่ายการขนส่งทางบกแห่งเอเชียของทีเอ็นที หรือ TNT Asia Road Networkเป็นรากฐานสู่ความสำเร็จในระดับภูมิภาคสำหรับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจจากผู้มีประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจ ได้แก่ ดร.วิทย์สิทธิเวคิน ในหัวข้อ “การขนส่งไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ก้าวใหม่ที่ท้าทาย(Thai Logistic Industry under AEC Integrated Milestones: Next Step of New Challenge)” และหมอช้าง-ทศพรศรีตุลา ในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต”(Future Innovative Direction of Thai Economy)”

 

จอร์จีนา กัลวินกรรมการผู้จัดการทีเอ็นที ประเทศไทย กล่าวว่า “หนึ่งในเป้าหมายแรกของการเข้ามาบริหารงานทีเอ็นที ประเทศไทย คือการปรับทิศทางธุรกิจให้มุ่งเน้นความสำคัญไปที่ลูกค้าเพื่อขานรับกับนโยบาย“เครือข่ายแห่งผู้คน (The People Network)”โดยทีเอ็นทีพร้อมเดินหน้าให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงและแตกต่างได้อย่างลงตัวและครอบคลุมทุกความต้องการด้านการขนส่ง ผ่านการนำเสนอโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งลูกค้าสามารถขอรับบริการแบบเบ็ดเสร็จได้ด้วยการติดต่อในขั้นตอนเดียว และด้วยเครือข่ายการขนส่งทางบกแห่งเอเชียผสานกับกลยุทธ์ใหม่นี้ จะช่วยสร้างผลตอบแทนต่อการลงทุนที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้นเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งนี้ ทีเอ็นทียังคงเดินหน้าจัดกิจกรรมเออีซีและงานประชุมธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจให้แก่ลูกค้าอย่างไม่หยุดยั้งและเชื่อมั่นว่าการประสบความสำเร็จของลูกค้า คือ หลักชัยแห่งความสำเร็จของทีเอ็นที”

 

จรัสพรรณ แจ่มใสผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ทีเอ็นที ประเทศไทยกล่าวเสริมว่า “เราพร้อมอย่างยิ่งที่จะส่งมอบประสบการณ์แห่งการบริการขนส่งชั้นเลิศให้แก่ลูกค้าเพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจหลังการเปิดประชาคมอาเซียนด้วยเครือข่ายการขนส่งทางบกแห่งเอเชียซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของทีเอ็นที ที่คลอบคลุมการจัดส่งสินค้าจากมือผู้ส่งถึงมือผู้รับโดยตรง  บริการการขนส่งสินค้าด่วนพร้อมการดำเนินงานด้านพิธีการศุลกากรทางบกทั่วภูมิภาคอาเซียน(ซึ่งเชื่อมต่อสิงคโปร์มาเลเซียไทยเวียดนามและจีน) และด้วยจุดแข็งเหล่านี้จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ลูกค้า ทำให้สามารถเชื่อมโยงธุรกิจไปสู่ตลาดการลงทุนแห่งใหม่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งในกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม โดยไม่ต้องกังวลกับอุปสรรคทั้งในด้านพรหมแดน ระยะทาง วัฒนธรรม ภาษา และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา”

 

ทีเอ็นที มุ่งมั่นลงทุนเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการบริการและเทคโนโลยีใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อช่วยส่งเสริมธุรกิจของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือรูปแบบใดก็ตาม ให้สามารถเชื่อมโยงสู่ตลาดโลกได้อย่างราบรื่น ดังนั้นลูกค้าทีเอ็นทีจะได้รับประโยชน์มากมายจากการเชื่อมโยงสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแบบไร้รอยต่อ ด้วยการสนับสนุนจากพันธมิตรธุรกิจชั้นนำระดับโลกผสมผสานผ่านโซลูชั่นเพื่อการขนส่งสินค้าด่วนแบบบูรณาการของทีเอ็นที

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อTNT Call Center 1721 หรือ อีเมล์th.marketing@tnt.com

 

###

 

เกี่ยวกับ เครือข่ายการขนส่งทางบกแห่งเอเชียของทีเอ็นที

เครือข่ายการขนส่งทางบกแห่งเอเชีย (Asia Road Network) ของทีเอ็นที เป็นระบบการขนส่งสินค้าที่สามารถกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าที่แน่นอนได้ โดยมีเส้นทางกว่า 5,000 กิโลเมตร ครอบคลุม 125 เมืองทั่วภูมิภาค เชื่อมโยงตั้งแต่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และจีน การสร้างเครือข่ายนี้ถือเป็นความพยายามของทีเอ็นทีในการนำเสนอบริการชั้นเลิศให้แก่ผู้บริโภค ในรูปแบบของบริการขนส่งด่วนทางบกจากมือผู้ส่งถึงจุดหมายปลายทางโดยไม่ต้องวุ่นวายกับกระบวนการศุลกากร ทั้งยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายการขนส่งทางอากาศของทีเอ็นทีแบบไร้รอยต่อ ทำให้ลูกค้าสามารถขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกจากเอเชียไปสู่ทั่วโลกได้ในหลายรูปแบบตามความเหมาะสม และยังมีค่าบริการย่อมเยากว่าการขนส่งทางอากาศและรวดเร็วกว่าการขนส่งทางเรือ